แค่ผมจะไปเดือดร้อนอะไร เป็นกระแสดราม่าในโลกออนไลน์เมื่อไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมาต่อกรณีดังกล่าวทำให้ชาวเน็ตหลายต่างออกมาแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ นานา ต่อกรณีที่เกิดขึ้น ซึ่งไรเตอร์ได้นำเรื่องราวดังกล่าวมาบอกเพื่อน ๆ ดังนี้ แล้วมาดูกัน เหตุการณ์ดังกล่าวบอกอะไรเรา และเมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว ต้องทำอย่างไรบ้าง?
ข้อเท็จจริง
ถ้อยคำดังกล่าวถูกแชร์ออกสื่อบนสังคมออนไลน์ที่ชื่อว่า เฟสบุ๊ค โดยเจ้าของโพสต์ดังกล่าวเป็นแฟนหนุ่มของผู้เสียหายที่เป็นน้องนักศึกษาสาวประเภทสอง ต่อกรณีที่ทางครอบครัวของแฟนสาวประเภทสองไม่เห็นด้วยที่จะให้เจ้าตัวไว้ผมยาว ถึงบังคับให้ไปตัดผม ทว่า แฟนสาวไม่ยอม เลยมีการทำร้ายร่างกายเกิดขึ้น แฟนหนุ่มรู้สึกทนไม่ได้ตัดสินใจแชร์คลิปวีดีโอดังกล่าวออกไป ในลักษณะ ขอความช่วยเหลือจนเป็นข่าวดังที่เห็นบนสื่อ
แฟนหนุ่มเจ้าของโพสต์บอกมาว่า ตนไม่เห็นเ้วยและขอประณามวิธีดังกล่าวที่ทางครอบครัวแฟนสาวกำลังปฏิบัติ และวิธีดีที่สุดในการช่วยเหลือแฟนสาวนั่นก็คือ การแชร์เรื่องราวที่เกิดขึ้นบนเฟสบุ๊ค จนนำมาสู่ถ้อยคำวิจารณ์มากมายที่ล้วนแสดงความเห็นเอนเอียงมาทางเจ้าของโพสต์ ว่า ไม่ควรบังคับฝืนใจกันขนาดนั้น นี่มันสังคมยุคใหม่แล้ว ร้อนถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทางราชการ รีบเดินทางมาตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อช่วยเหลือนักศึกษาสาวประเภท 2 ค่ะ
แค่ผมจะไปเดือดร้อนอะไร วิเคราะห์ข่าว
ในความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ต่อโพสต์ดังกล่าว ค่อนข้างประนามพฤติกรรมครอบครัวเดิมของนักศึกษาสาวประเภท 2 ในลักษณะว่ากล่าว เช่น ยุคไหนแล้ว ยังมีครอบครัวหัวโบราณแบบนี้อยู่อีกหรือ บางความเห็นบอกในลักษณะที่ว่า ย้ายออกไปเถอะ แบบนี้ เป็นต้น
สำหรับไรเตอร์ ในความคิดเห็นส่วนตัว แยกออกเป็น 2 มุมมอง การทำร้ายร่างกาย ถือเป็นการละเมิดสิทธิบนร่างกายของคนอื่นโดยที่คน ๆ นั้น ไม่ได้เต็มใจแม้แต่น้อย ถือว่าผิด ซึ่งในกรณีครอบครัวแฟนสาวประเภท 2 ทำแบบนั้น ย่อมส่งผลทางลบแน่นอน
และเหตุการณ์นี้กำลังบอกเราว่า generation ในแต่ละยุค ย่อมมีความแตกต่างในด้านทัศนคติ ไรเตอร์เชื่อว่า ครอบครัวนี้ น่าจะเป็นแนวอนุรักษ์นิยม เป็นคนรุ่นเก่า เมื่อเห็นว่าสิ่งใดผิดไปจากครรลองทั้งที่ไม่ได้ลุกไปทำร้ายใคร ปฏิกิริยา จะเป็นอีกแบบหนึ่ง แตกต่างจาก ครอบครัวหัวสมัยใหม่ที่พร้อมเปิดรับทุกความเปลี่ยนแปลงพร้อมทั้งปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย
ในส่วนของนักศึกษาสาวประเภท 2 ย่อมบังเกิดความน้อยใจและใช้อารมณ์เพียงชั่ววูบแชร์เรื่องราวผ่านสื่อ ถ้าจะถามว่า ผิดไหม ก็ไม่ผิดนะคะ ในฐานะโดนทำร้ายโดยสมาชิกภายในครอบครัว สิ่งที่ทำได้นั่นก็คือ บอกกล่าวเรื่องราวผ่านสื่อขอความเห็นใจคือทางออก ดีที่สุดดีกว่า ทำร้ายด้วยคำพูดหรือการใช้ความรุนแรง เป็นต้นค่ะ
แค่ผมจะไปเดือดร้อนอะไร สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากข่าวดราม่าดังกล่าว บอกเราว่า ความแตกต่างทางทัศนคติโดยเฉพาะผู้สูงวัย มีผลต่อการอาศัยอยู่ร่วมกัน แล้วควรจะแก้ปัญหาอย่างไร? ทางออกที่อยากจะแนะนำ นั่นก็คือ ควรแยกตัวออกมาใช้ชีวิตด้วยตัวเองคือหนทางดีที่สุดเพื่อลดการกระทบกระทั่งกันในกรณีที่พอจะช่วยเหลือตัวเองได้แล้ว หรือ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยในกรณีเหมือนอย่างน้องนักศึกษาที่ยังเรียนไม่จบค่ะ
เครดิตภาพ
บทความที่อาจสนใจ เหยียบแผ่นดิน เมื่อการพัฒนานี้เพื่อคนไทย